งานทุ่งทานตะวันบานที่ลพบุรี

สืบสานประเพณีไทย อนุรักษ์วัตถุโบราณ เที่ยวทุ่งทานตะวันบานที่ 'ลพบุรี'!!!

ชำระเงินออนไลน์

จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นเนื่องจากเป็นช่วงที่ดอกทานตะวันบาน ปัจจุบันจังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ปลูกทานตะวันนับแสนไร่ ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต ดอกทานตะวันจะบานเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของจังหวัดลพบุรี กิจกรรมที่น่าสนใจในงาน อาทิ การประกวดรถบุปผชาติ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากทานตะวัน การแข่งขันแรลลี่ประเภทต่างๆ

บทความโดย : http://www.tat.or.th/

จุดท่องเที่ยวทุ่งทานตะวันจังหวัดลพบุรี ปี 2551

1. ตำบลคลองเกตุ อำเภอโคกสำโรง กลางเดือนพฤศจิกายน 2551

2. ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551

3. ตำบลหนองแขม อำเภอโคกสำโรง ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551

4. ตำบลสะแกราบ อำเภอโคกสำโรง ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551

5. ตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551

6. ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง ต้นเดือนธันวาคม 2551

7. ตำบลชอนน้อย อำเภอพัฒนานิคม กลางเดือนธันวาคม 2551

8. ตำบลพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม ต้นเดือนธันวาคม 2551

9. ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม ต้นเดือนธันวาคม 2551

10. ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม ปลายเดือนธันวาคม 2551

11. ตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม ต้นเดือนธันวาคม 2551

12. ตำบลน้ำสุด อำเภอพัฒนานิคม กลางเดือนธันวาคม 2551

13. ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม กลางเดือนธันวาคม 2551

14. ตำบลคลองเกตุ อำเภอชัยบาดาล ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551

15. ซอย26 อำเภอพัฒนานิคม ถนน3017ก่อนถึงเขื่อนฯ 2 กิโลเมตร 30 ตุลาคม- 9 พฤศจิกายน 2551

16. ซอย12 อำเภอพัฒนานิคม ถนน21 ก่อนถึงปั๊มบางจากและสี่แยก ซอย12 ซ้ายมือ 1-10 พฤศจิกายน 2551

17. ซอย15-16 อำเภอพัฒนานิคม ถนนหมายเลข 3017 5-13 พฤศจิกายน 255128 พฤศจิกายน-6 ธันวาคม 25515-13 ธันวาคม 255117-26 ธันวาคม 2551

18. เลยฟาร์มผึ้ง เลี้ยวซ้าย ทางเข้าโคกสลุงอยู่ขวามือ 3-10 พฤศจิกายน 2551

บทความโดย : http://www.siamfreestyle.com


จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีต่อลพบุรีและประเทศชาติ เนื่องจากเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองในสมัยนั้นที่พระองค์ทรงโปรดปรานประทับอยู่ที่นี่นานเกือบตลอดปี เฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้นจึงจะเสด็จไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยา ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การแสดงแสงและเสียง การแสดงสาธิตวิถีชีวิตไทย งานราตรีวังนารายณ์ การละเล่นของเด็กไทย (จุก แกละ โก๊ะ เปีย) และการละเล่นพื้นเมืองมหรสพ และการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

บทความโดย : http://www.tat.or.th/

จังหวัดลพบุรีจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ปี 52 อย่างยิ่งใหญ่

นายจารุพงศ์ พลเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เปิดเผยกับร่วมด้วยช่วยกันชัยนาท ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระราชสมภพ ในวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ.2175 ได้พระบรมราชาภิเษกเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ในวันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก พ.ศ. 2199 เสด็จดำรงราชสมบัติอยู่ 32 ปี ทรงสวรรคตในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 สิริรวมพระชนมายุ 56 พรรษา พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานมีให้เห็นในปัจจุบันมากมาย อาทิ ด้านการทูต การปกครอง การประปา ด้านกวี นอกจากนี้ ยังทรงเล็งเห็นว่าจังหวัดลพบุรีมีที่ตั้งในภูมิประเทศที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์รวมทั้งมีแม่น้ำลพบุรีที่สามารถเดินทางมาทางเรือ ไม่ไกลจากกรุงศรีอยุธยา สำหรับพระนารายณ์ราชนิเวศน์นั้น ได้เริ่มก่อสร้างราว พ.ศ. 2208 โดยสมัยที่พระองค์ทรงครองราชย์ในแต่ละปีจะเสด็จมาประทับที่เมืองลพบุรี ประมาณ 8 – 9 เดือน นอกจากนี้ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ยังมีตึกในพระราชฐานชั้นนอกที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง ตึกพระเจ้าเหา หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง ยังคงมีให้เห็นถึงความสวยงามในปัจจุบันนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีกล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะชาวจังหวัดลพบุรี ทางจังหวัดและประชาชนชาวลพบุรี ได้พร้อมใจกันจัดงานเทิดพระเกียรติพระองค์ขึ้น โดยถือว่าเป็นงานประจำปี ใช้ชื่องานว่า “งานแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช” ระหว่างวันที่ 16 – 22 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติมากมาย รวมทั้ง การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ การจำลองขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งจัดกิจกรรมภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ การแสดงแสง เสียง งานราตรีวังนารายณ์โดยใช้ชื่อชุด “ประวัติศาสตร์จินตนาการ” การจำหน่ายสินค้าไทย การละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสริมในการจัดงาน เช่น การแข่งขันประกวดทำอาหารและขนมไทย การประกวดเล่าตำนานเมืองลพบุรี การแสดงบ้านไทย การแสดงเด็กจุก โก๊ะ แกละ เปีย ชมขบวนของทหารวังเปลี่ยนเวร ตลาดนัดย้อนยุค สำหรับปีนี้ทาง ททท. สำนักงานภาคกลางเขต 7 จัดกิจกรรมเสริมที่น่าสนใจ คือ ไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์เมืองละโว้ ขณะเดียวกันชาวลพบุรีไม่ว่าจะเป็นราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ นักเรียน พ่อค้า ประชาชน ต่างพร้อมใจแต่งไทยทั้งเมือง ระหว่างวันที่ 15 มกราคม – 22 กุมภาพันธ์ 2552 จะพบชาวจังหวัด ลพบุรีแต่งชุดไทย

บทความโดย : http://www.rd1677.com/

เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวน ซึ่งมีอยู่หลายหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอบ้านหมี่ จัดขึ้นเพื่อขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มักจะถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ และรุ่งขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า โดยชาวบ้านจะร่วมกันใส่บาตรด้วยข้าวหลามและข้าวจี่ ตกบ่ายมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย หม่าเบี้ย หมากันห่าน

บทความโดย : http://www.tat.or.th

ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ทางวัดจะจัดให้มีการอัญเชิญพระศรีอาริย์มาประดิษฐานบนแท่นตะเฆ่ แล้วให้ประชาชนร่วมกันชักพระไปทางทิศเหนือ เริ่มจากวัดไลย์ไปสุดทางที่วัดท้องคุ้ง แล้วชักกลับมายังวัดไลย์ ระหว่างทางจะมีผู้เข้าร่วมขบวนเป็นจำนวนมาก มีการหยุดขบวนในแต่ละจุด เพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาได้สรงน้ำและนมัสการ ตลอดระยะทางจะมีผู้ตั้งโรงทานสำหรับเลี้ยงอาหารฟรีแก่ผู้เข้าร่วมขบวนแห่นับสิบแห่ง




บทความโดย : http://www.tat.or.th/



ประเพณีชักพระศรีอาริย์ ประจำปี 2552

วัดไลย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ในอดีตสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จไปวัดนี้ และทรงกล่าวไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟไว้ว่า “ วัดไลย์อยู่ริมน้ำบางขาม พ้นเขาสมอคอนไปทางตะวันตกไม่ห่างนัก เป็นวัดเก่าชั้นแรกตั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วปฏิสังขรณ์เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ยังมีรายภาพเก่า ปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิ์งามน่าดูนัก ที่วัดไลย์นี้มีรูปพระศรีอารีย์เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือกันมาแต่โบราณ เมื่อรัชกาลที่ ๕ ไฟป่าไหม้วิหารรูปพระศรีอารีย์ชำรุดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานอย่างเดิม ถึงเทศกาลราษฎรยังเชิญออกแห่เป็นประเพณีเมืองมาทุกปีมิได้ขาด ”

นายวัฒนพงษ์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี เปิดเผยว่า งานประเพณีชักพระศรีอาริย์ ซึ่งทางวัดไลย์ จัดขึ้น เป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง ถือปฏิบัติกันมาช้านาน และเชื่อกันว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอริยเมตไตร มาตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกมนุษย์ หลังจากสิ้นสุดศาสนาของพระมหาสมณโคดมแล้ว 5,000 ปี เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เรียกว่า ศาสนาพระศรีอาริย์ จึงได้มีการสร้างพระศรีอาริย์ขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ โดยเชื่อกันว่าจะได้ไปเกิดในยุคของพระศรีอาริย์แล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งครั้งนี้ทางวัดไลย์ได้กำหนดจัดประเพณีชักพระศรีอารีย์ ขึ้นวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2552 โดยจะเริ่มพิธีอัญเชิญในวันที่ 7 พฤษภาคม 2552 เวลาประมาณ 08.00 น. และเวลา 09.00 น.เป็นพิธีชักพระศรีอารีย์ออกจากวัดไลย์ ไปตามเส้นทางของหมู่บ้าน และขบวนแห่ชักพระศรีอาริย์จะสิ้นสุดที่ วัดท้องคุ้ง อำเภอบ้านหมี่ จากนั้นอัญเชิญพระศรีอารีย์กลับมาประดิษฐานที่วัดไลย์ดังเดิม เพื่อให้ประชาชนสักการะ และปิดทองขอพรจากองค์พระศรีอาริย์ ตลอดเส้นทางที่ขบวนแห่พระศรี อาริย์ผ่าน จะมีการตั้งโรงทานหลายแห่ง สำหรับเลี้ยงอาหาร และเครื่องดื่ม ให้แก่นักท่องเที่ยว และผู้มาร่วมงานรับประทานฟรีตลอดเส้นทาง
นอกจากนักท่องเที่ยวทุกท่าน จะได้สัมผัสกับบรรยากาศของงาน ประเพณีชักพระศรีอาริย์ วัดไลย์ ครั้งนี้แล้ว นักท่องเที่ยวทุกท่านยังสามมารถแวะเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในละแวกใกล้เคียง เช่น นมัสการ และขอพรจาก ศาลพระกาฬ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลพบุรี แวะชมโบราณสถาน อาทิ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ , พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ และสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง.

บทความโดย : http://www.tat7.com/

หรือประเพณีเสื่อกระจาด ตามภาษาพวน เรียกว่า “เส่อกระจาด” เป็นประเพณีของชาวไทยพวนซึ่งถือปฏิบัติกันในเขตอำเภอบ้านหมี่ จัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลเทศมหาชาติ ส่วนมากจะกำหนดในเทศกาลออกพรรษา (เดือน 11) ข้างแรม ก่อนถึงวันใส่กระจาดหนึ่งวัน ชาวบ้านจะช่วยกันทำขนมห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น รุ่งขึ้นจะเป็นวันใส่กระจาด ชาวบ้านจะนำของ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม ธูปเทียน หรืออื่นๆ มาใส่กระจาดตามบ้านของคนรู้จัก เจ้าของบ้านจะนำอาหารที่เตรียมไว้มาเลี้ยงรับรองแขก เมื่อแขกกลับ เจ้าของบ้านจะนำข้าวต้มมัดฝากไปให้ เรียกว่า “คืนกระจาด” ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเทศก์มหาชาติ เป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี

บทความโดย : http://www.tat.or.th

จัดขึ้นในวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ณ บริเวณศาลพระกาฬ และพระปรางค์สามยอด บริเวณนี้มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บรรดานักท่องเที่ยวที่มานมัสการเจ้าพ่อพระกาฬ มักจะนำอาหารและผลไม้มาเลี้ยงลิงทำให้ลิงมีความเชื่องและคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวมากขึ้น ในงานมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเลี้ยงอาหารที่ตกแต่งอย่างสวยงามเป็นพิเศษสำหรับลิง การแสดงพื้นบ้าน เป็นต้น

บทความโดย : http://www.tat.or.th

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดลพบุรีได้ 2 เส้นทาง คือ
1. กรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)เข้าทางอ.บางปะหันผ่านอ.นครหลวง แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3196 ผ่าน อ.บ้านแพรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าสู่ตัวจังหวัด ลพบุรี
2. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านไปทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทองและสิงห์บุรี จากนั้นจึงใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311(สายสิงห์บุรี-ลพบุรี) ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่ตัวจังหวัดลพบุรี
-----------------------------------------------------------------
รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิตทุกวัน วันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 537-8055-6
-----------------------------------------------------------------
ทางรถไฟ
การเดินทางโดยรถไฟ สามารถเดินทางโดยรถไฟสายเหนือ ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน วันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010,223-7020
-----------------------------------------------------------------
รถยนต์ส่วนตัว
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปลพบุรี มีเส้นทางหลักที่นิยมใช้กันคือถ. พหลโยธิน หรือทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านรังสิตจนถึงหลัก กม. สระบุรี เข้าสู่ อ. เมืองสระบุรี จากนั้นก็ตรงไปและเลี้ยวซ้ายที่สามแยกพุแค ผ่าน อ. พระพุทธบาท จ. สระบุรี แล้วเข้าสู่ตัวเมืองลพบุรี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ถนนจากวงเวียนพระนารายณ์ผ่านวงเวียนสระแก้วจนถึงถึงศาลพระกาฬเป็นทางสี่เลนแต่เมือเข้าสู่ย่านชุมชนตั้งแต่ปรางค์สามยอดถึงตลาดท่าโพธิ์จะเป็นถนนแคบ ๆ เชื่อมกัน เป็นที่ตั้งของโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ บ้านวิชาเยนทร์ เป็นต้น ถนนบางสายให้เดินรถทางเดียว นักท่องเที่ยวควรลดความเร็ว สังเกตป้ายจราจร ละขับขี่อย่างระมัดระวังอยู่มาก ทั้งควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้าโดยดูแผนที่ประกอบ เพราะที่เที่ยวต่าง ๆ ตั้งอยู่มาก ทั้งควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้าโดยดูแผนไปเสียเวลาวนรถกลับมาใหม่
-----------------------------------------------------------------